เมนู

8. อนัตตสูตรที่ 1



ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา



[339] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็น
อนัตตา ? รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย
เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย.
จบ อนัตตสูตรที่ 1

9. อนัตตสูตรที่ 2



ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา



[340] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นอนัตตา ? รูปเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย เวทนา... สัญญา... สังขาร...
วิญญาณ
เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
จบ อนัตตสูตรที่ 2

10. อนัตตสูตรที่ 3



ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา



[341] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นอนัตตา ? รูปเป็น
อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา... สัญญา...

สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณ
นั้นเสีย.
จบ อนัตตสูตรที่ 3

11. กุลปุตตสูตรที่ 1



ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร



[342] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่ที่มากด้วย
ความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณนี้
ย่อมเป็นธรรมสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา ผู้อยู่มากด้วย
ความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่ง
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาส
เราตถาคตกล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ กุลปุตตสูตรที่ 1

12. กุลปุตตสูตรที่ 2



ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร



[343] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่
นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่
ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป